วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายที่ดิน

ประเภทที่ดิน
ที่ดินเป็นทรัพย์อันมีค่าที่ทุกคนหวงแหน เป็นพื้นฐานของครอบครัวและประเทศชาติเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ สำหรับใช้เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อประโยชน์อื่นๆ ดังนั้นระเบียบการเกี่ยวกับที่ดินจึงมีความละเอียดอ่อนมาก เพื่อให้ประชาชนผู้สุจริตได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับเรื่องที่ดินที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันบางส่วนไว้บ้าง จึงได้รวบรวมข้อควรทราบและทางปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ

ที่ดิน หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนองคลองบึง ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1)

คำว่าที่ดินมิได้หมายถึงเนื้อดินอันเป็นกรวดทราย โคลน เลน แต่หมายถึงอาณาเขตอันจะพึงวัดได้เป็นส่วนกว้างส่วนยาวอันประจำอยู่แน่นอนบนพื้นผิวโลก เป็นส่วนหนึ่งของผิวพื้นโลกอันมนุษย์จะพึงอาศัย กรวด ทราย หิน ดิน โคลน แร่ธาตุที่อาจจะขุดขึ้นมามิใช่ตัวที่ดิน หากเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ที่ดินนั้นจึงเป็นสิ่งไม่อาจทำลายทำให้สูญหาย หรือเคลื่อนย้ายอย่างใดๆ ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยนสภาพไปเช่นเปลี่ยนสภาพเป็นทางน้ำสาธารณะ

1. ที่ดินของเอกชน รวมที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ แต่อาจมีหลักฐานแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3 ก.) ผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นและรวมถึงที่ดินมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ เช่น โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

2. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมทั้งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมิได้มีผู้ใดครอบครองเป็นเจ้าของ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ทางหลวง ทางน้ำ ทะเลสาบ ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะเช่น ศาลากลางจังหวัด
โรงทหาร

สาธารณสมบัติของแผ่นดินมีคุณสมบัติดังนี้

1. จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ออกเฉพาะให้โอนกันได้

2. ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน เช่น ครอบครองทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะกี่ปีก็ไม่ได้กรรมสิทธิ

3. ห้ามยึดทรัพย์ของแผ่นดิน

หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินมีอยู่ 4 อย่าง

1. โฉนดแผนที่ เป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน ฉบับแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยออกเมื่อ ร.ศ.120 (พ.ศ. 2445) และ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) ออกโดยมีการรังวัดทำแผนที่ระวาง ป้องกันการเกิดการทับที่ซ้อนที่ ผู้ถือหนังสือนี้มีกรรมสิทธิในที่ดินของตนโดยสมบูรณ์ตลอดไปจนกระทั่งปัจจุบัน

2. โฉนดตราจรอง เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดินออกตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ.124 ประกาศใช้ในมณฑลพิษณุโลก ที่เป็นจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ สุโขทัย และบางส่วนของนครสวรรค์ ในจังหวัดอื่นไม่มีการออกโฉนดตราจองการรังวัดทำแผนที่ไม่มีระวางยึดโยง ทำเป็นแผนที่รูปลอย เป็นแปลงๆ ไป

3. ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ออกให้ในกรณีที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จับจองเป็นใบเหยียบย่ำมีอายุ 2 ปี หรือผู้ได้รับตราจองที่เป็นใบอนุญาต มีอายุ 3 ปี และได้ทำประโยชน์ในที่ดินภายในกำหนดแล้วมีสิทธิจะได้รับตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

4. โฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มี 6 แบบ น.ส.4 , น.ส. 4 ก. ,น.ส. 4 ข., น.ส. 4 ค.,น.ส. 4 ง. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 15,17 ปัจจุบันไม่ออกแล้ว) น.ส. 4 จ. (ออกโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 34) ปัจจุบันโฉนดที่ดินออกตามแบบ น.ส.4 จ.

การออกโฉนดที่ดิน

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศเขตเพื่อจะออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58,58 ทวิ)

ข. การออกโฉนดที่ดิน เฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59)
กฎหมายปกครอง
ศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

(2) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(5) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

(6) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง
(1) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

(2) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

(3) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

หน่วยงานทางปกครอง หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินการทางปกครอง

เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า

1. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง

2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ

3. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม 1.
หรือ 2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติส้ ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9 และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องศาลปกครอง
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวและได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด
หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ในขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อยพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่านั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[แก้] ประเภทของความผิด
ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค
[แก้] ลักษณะของการเกิดความผิด
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

ความผิดโดยการกระทำ
ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ
[แก้] สภาพบังคับของกฎหมายอาญา
โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฎหมาย

กฎหมาย (อังกฤษ: law หรือ legislation) คือ กฎอันมีที่มาจากการตราขึ้นโดยสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคล
ความจำเป็นในการมีกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi jus. Ergo ubi homo, ibi jus) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"คคลกับรัฐ
ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย หรือบ่อเกิดของกฎหมาย (อังกฤษ: source of law) หมายถึง สภาพที่กฎหมายปรากฏตัว สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายพื้นฐาน และพิจารณาตามกฎหมายอื่น ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะพบว่ากฎหมายไทยปรากฏตัวอยู่ในสามรูป คือ รูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร รูปจารีตประเพณี และรูปหลักกฎหมายทั่วไป[30]
กฎหมายลายลักษณ์อักษร
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของไทยสามารถจำแนกตามรูปแบบและองค์กรที่ตราขึ้นได้ตามลำดับดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญ 2) กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3) พระราชบัญญัติ 4) พระราชกำหนด 5) พระราชกฤษฎีกา 6) กฎกระทรวง และ 7) กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้น
จารีตประเพณี
จารีตประพณี ตามประวัติศาสตร์นั้นได้รับการใช้บังคับเสมอเป็นกฎหมายมาแต่บุรพกาลก่อนที่สังคมจะรวมเป็นรัฐและมีระบบอักษรใช้ ปัจจุบันบางประเทศมีการบันทึกจารีตประเพณีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประโยชน์ในการสืบทอดและขจัดข้อสงสัยด้วย[31]
ความสำคัญของจารีตประเพณีอยู่ที่ ถึงแม้จะมีความพยายามในการเขียนกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้มีความกว้างขวางเพียงไร แต่ก็ไม่อาจครอบคลุมกรณีทั้งปวงได้ จึงต้องอาศัยจารีตประเพณีมาประกอบให้สมบูรณ์เสมอ เช่น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) ว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "สำหรับประเทศไทยแล้ว เห็นว่า เมื่อประเทศไทยรับเอาระบบประมวลกฎหมาย (code law) มาใช้ ก็น่าที่จะยอมรับแนวคิดที่ว่าจารีตประเพณีเป็นที่มาของกฎหมายในตัวเอง ซึ่งหมายความว่า เมื่อจารีตประเพณีเป็นที่มาของกฎหมายในตัวมันเอง จารีตประเพณีก็ใช้บังคับกับสังคมได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีการออกกฎหมายมารองรับ"[32]
จารีตประเพณีจะใช้ได้ในเมื่อไม่อาจหากฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้แก่กรณีนั้น ๆ แล้ว ฉะนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วจะไม่ใช้จารีตประเพณีเป็นอันขาด ทั้งนี้ จารีตประเพณีที่ใช้ได้เพื่อการอุดช่องว่างทางกฎหมายเช่นว่าต้องมีลักษณะเป็นจารีตประเพณีที่ได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานและสม่ำเสมอจนกลายเป็นธรรมเนียม กับทั้งต้องมีสภาพที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งถูกต้อง สมควรปฏิบัติตาม เป็นต้น นอกจากนี้ จารีตประเพณีที่จะมาใช้จะมีลักษณะดังต่อไปนี้มิได้เลย คือ 1) มาสร้างความผิดทางอาณาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามหลักที่ว่า "ไม่มีความผิดถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" และ "ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" และ 2) มากำหนดหน้าที่ของบุคคลเพิ่มจากที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดไว้แล้วไม่ได้ เช่น จะมีจารีตประเพณีให้เสียภาษีมรดกทั้ง ๆ ที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้เสียไม่ได้[33]
หลักกฎหมายทั่วไป
หลักกฎหมายทั่วไป ได้แก่ หลักกฎหมายที่ผู้พิพากษาค้นคว้าหามาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในกรณีที่ไม่มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และบทกฎหมายอันใกล้เคียงที่สุดใช้แล้ว ซึ่งผู้พิพากษาจะอาศัยสิ่งใดเป็นเครื่องค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปนั้น นักนิติศาสตร์ให้ความเห็นว่า[34]
1. สุภาษิตกฎหมาย คือ คำกล่าวที่ปลูกถ่ายความคิดทางกฎหมาย และยังเป็นบทย่อของหลักกฎหมายต่าง ๆ ด้วย[35] เช่น
"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2512[36] พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ นายสุดใจ หลักคำเป็นจำเลย ความว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจใช้ขวานคมกว้างสองนิ้วครึ่ง ยาวสามนิ้วครึ่ง ทั้งตัวและด้ามขวานยาวสิบเจ็ดนิ้ว ฟันต้นคอร้อยตรีประพันธ์ ศิวิไล โดยเจตนาฆ่าและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ไม่บรรลุผลโดยกระดูกต้นคอแตก ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีจึงไม่ตาย ขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ขวานของกลางเป็นขวานขนาดเล็ก จำเลยฟันครั้งเดียว ไม่ฟันซ้ำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ศาลฎีกาว่า ขวานขนาดนั้นถือเป็นขวานขนาดใหญ่อยู่มิใช่น้อย หมายฟันที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรง เป็นบาดแผลฉกรรจ์ ถ้าไม่รีบรักษาทันท่วงทีก็อาจถึงแก่ความตาย โดยที่หมายฟันที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรงเป็นบาดแผลฉกรรจ์ ถ้าไม่รีบรักษาทันท่วงทีก็อาจถึงแก่ความตายได้นั้น กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนา การกระทำของจำเลยชี้ว่าจำเลยมีเจตนาหมายเอาให้ตาย แต่พอดีผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยจึงผิดฐานพยามยามฆ่า มิใช่ทำร้ายร่างกาย
"ความยินยอมไม่ทำให้เป็นการละเมิด" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510[36] นายน่วม เหตุทองเป็นโจทก์ นายน่วม เหตุทองเป็นจำเลย ความว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้มีดฟันทำร้ายโจทก์ จนโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติเกินกว่ายี่สิบวัน กับทั้งแขนอาจพิการตลอดชีวิต จำเลยว่า โจทก์เสพสุรามึนเมาแล้วอวดอ้างว่าเป็นผู้อยู่คงกระพันฟันไม่เข้า ขอให้จำเลยลองฟัน จำเลยไม่ควรต้องรับผิด ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาว่า การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันเช่นนั้นเป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกายตน และเป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย กลับคำพิพากษา(พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 9 "ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้") จึงถือได้ว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510 (ป.) ไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป
"ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนให้" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2511[36] ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโรงงานน้ำตาลเจริญผลโดยนายศักดิ์ชัย แซ่ตั้ง หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นโจทก์ กับนายไพศาล ชนะศรีวนิชชัย และนายดำรง ชนะศรีวนิชชัย เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ความว่า การซื้อทรัพย์จากผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมมิได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น เพระผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
2. การพิเคราะห์โครงสร้างกฎหมาย วิธีนี้เห็นกันว่าดีกว่าวิธีก่อน เนื่องเพราะมีความแน่นอนกว่าการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปโดยใช้สุภาษิตเป็นเครื่องมือ เพราะบางครั้งสุภาษิตก็ใช้แก่บางประเทศหรือบางท้องที่มิได้
มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2496[36] บริษัทยางจินฮง จำกัดเป็นโจทก์ และบริษัทซินฮั้วประกันภัย จำกัดเป็นจำเลย ความว่า โจทก์ฟ้องว่า ได้ประกันภัยปูนซิเมนต์ของบริษัทบรรทุกในเรือยนต์ชื่อ "ตรังกานู" จากจังหวัดพระนครไปยังจังหวัดสงขลา บัดนี้ เรือยนต์ตรังกานูอับปางลงในอ่าวไทยเพราะแนวเรือแตก หมันของเรือหลุดทำให้ไม้คิ้วเรือแยกออกจากทวนหัวเรือ ซึ่งนายช่างตรวจเรือว่าอาจมีสาเหตุจากการวิ่งฝ่าฟันคลื่นหรือไปกระแทกของแข็งเข้าก็เป็นได้ ยังผลให้ปูนซิเมนต์ดังประกันภัยไว้เสียหายไปด้วย แต่จำเลยกลับบิดพลิ้วไม่ใช้ค่าเสียหายตามจำนวนในกรมธรรม์ จึงขอให้ศาลบังคับ จำเลยแย้งว่า คำว่า "อันตรายทางทะเล" ตามกรมธรรม์นั้นหมายแต่ว่าเป็นอันตรายซึ่งเกิดจากคลื่นลมพายุที่มีมาอย่างหนักผิดปกติเป็นต้น ศาลฎีกาว่า กฎหมายทะเลของไทยในขณะนี้ยังไม่มี ทั้งจารีตประเพณีก็ไม่ปรากฏ เมื่อเกิดมีคดีขึ้นจึงควรเทียบวินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป และเมื่อกรมธรรม์นี้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษจึงควรถือกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไปเพื่อเทียบเคียงวินิจฉัย ตามกฎหมายนั้น คำว่า "อันตรายทางทะเล" หรือ "ภยันตรายแห่งทะเล" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "peril of the sea" ย่อมหมายถึงภยันตรายใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเป็นวิสัยที่ท้องทะเลจะบันดาลได้ หาจำต้องคำนึงถึงว่าขณะนั้นทะเลเรียบร้อยอยู่หรือทะเลเป็นบ้าคลั่งอย่างใดไม่ พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
กฎหมายปัจจุบันจำต้องมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้จึงจะชื่อว่าเป็น "กฎหมาย"[37]
1. กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ กล่าวคือ ต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน ใช้วัดและกำหนดความประพฤติของสมาชิกในสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้เป็นต้น เช่น ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเชิญชวนให้ประชาชนสวมใส่ชุดดำเนื่องในการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ไม่เป็นกฎหมาย เพราะไม่ใช่ข้อกำหนดที่บ่งบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก ไม่อาจวัดเป็นมาตรฐานได้ว่าการแต่งชุดดำเช่นนั้นแล้วเป็นการถูกกฎหมาย การไม่แต่งผิดกฎหมาย และที่สำคัญ ประกาศนั้นเป็นแต่การเชิญชวน มิได้เป็นการบังคับ เป็นต้น
2. กฎหมายกำหนดความประพฤติของบุคคล กล่าวคือ กฎหมายควบคุมแต่ความประพฤติของบุคคลเท่านั้น มิได้ก้าวล่วงเข้าไปถึงจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่าศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณีควบคุมมนุษย์ได้ลึกซึ้งยิ่งกว่ากฎหมาย และกฎหมายนั้นหยาบกว่าสิ่งเช่นว่า ทั้งนี้ ความประพฤติที่จะถูกควบคุมมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และ 2) การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเช่นนั้นอยู่ภายในความควบคุมของจิตใจ กล่าวอีกชั้นคือ บุคคลรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่
3. กฎหมายมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (อังกฤษ: sanction) ของกฎหมายนั้นมีทั้งที่เป็นผลร้าย เช่น โทษทางอาญา และผลดี เช่น การลดภาษีเงินได้
สำหรับสภาพบังคับที่เป็นผลดีนั้น ในความจริงแล้วมนุษย์มิใช่จะปฏิบัติตามกฎหมายเพราะเกรงจะได้รับผลร้ายเท่านั้น แต่อาจเพราะมีแรงจูงใจด้วย เช่น บทบัญญัติในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ว่า "ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการ..."[38] เป็นต้น
4. กฎหมายมีกระบวนการอันเป็นกิจจะลักษณะ ในอดีต สำหรับการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบางทีก็ใช้ระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่สังคมสมัยใหม่ซึ่งมีการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ กล่าวคือ รัฐออกกฎหมายและรัฐเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับใช้กฎหมายโดยประชาชนเลย เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่ากระทำเกินเลยต่อคนที่อ่อนแอกว่าได้ กับทั้งจะเกิดความวุ่นวายประการอื่น ๆ
กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ รัฐกระทำผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ฯลฯ
อย่างไรก็ดี มีการเว้นให้ประชาชนบังคับใช้กฎหมายได้เองเป็นกรณีพิเศษ คือ 1) กรณีเพื่อการป้องกันตามกฎหมายอาญา เช่น การป้องกันตนเองจากภัยที่ใกล้จะถึง และการป้องกันนั้นไม่เกินกว่าเหตุ เป็นต้น และ 2) กรณีที่ได้รับนิรโทษกรรมตามกฎหมายแพ่ง เช่น กรณีเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง หากไปแจ้งทางราชการจะไม่ทันท่วงที กรณีเช่นนี้บุคคลไม่ต้องใช้สินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นต้น
ระบบกฎหมาย
การใช้ระบบกฎหมายของประเทศต่างๆ
กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)
ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี ประเทศที่ได้รับอิทธิพลของกฎหมายจารีตประเพณี
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น (กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่ น่าสนใจ คือ อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้รัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษที่สะท้อน ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงที่ละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหา กษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20 ดังนั้น การที่จะเข้าใจรัฐธรรมนูญอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นก็คือ การที่มีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงประวัติ และที่มาของรัฐธรรมนูญรวมถึงหลักการสำคัญที่ถูกกำหนดเป็นพื้นฐานของรัฐ ธรรมนูญเพื่อที่จะเห็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญอังกฤษ)
ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น (รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789) คือ เครื่องมือสำคัญของการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นฉบับแรกของโลกที่ใช้คำเรียกตัวเองว่าเป็น รัฐธรรมนูญ (Constitution) และเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) ที่ยังใช้บังคับอยู่ยาวนาน และเก่าแก่ที่สุดในโลก กล่าวคือ มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียง 27 ครั้ง เท่านั้น ในช่วงเวลา 200 กว่าปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญอื่นๆ มากมายทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ (the SupremeLaw of the Land) ตามมาตรา 6 อนุมาตรา 2 อาจตีความว่า รัฐธรรมนูญของรัฐหรือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐ หรือ สภาคองเกรสแห่งชาติ หากพบว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางแล้วจะทำให้กฎหมายเหล่านั้นไม่มี ผลบังคับใช้ คำวินิจฉัยอรรถคดีต่างๆ ของศาลสูงสุด คือเครื่องยืนยันได้ถึงหลักการแห่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญฉบับ นี้) (แก้ไขข้อมูลล่าสูดโดย อาทิตย์ แก้วศรี 29/04/2553 02.42น.)
ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)
หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น
ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)
หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น